JMA GENBA Management Conference & Award 2016 ~in Thailand~
แบบสอบถาม
มุมมอง 6 ประเด็น จากผลการสำรวจด้วยแบบสอบถาม
กำหนดการจัดงาน : วันที่ 6 (จันทร์) มิถุนายน พ.ศ. 2559
สถานที่ : BITEC (กรุงเทพ ประเทศไทย)
การประเมินผลโดยรวมของการประชุม:
■มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ■มีประโยชน์ ■ธรรมดา ■ไม่ค่อยมีประโยชน์ ■ไม่มีประโยชน์เลย
แผนก
■แผนกการผลิต ■แผนกเทคนิคการผลิต ■แผนกควบคุมการผลิต ■แผนกประกันคุณภาพ ■แผนกธุรการ
■แผนกจัดซื้อและวัสดุ ■แผนกอื่นๆ
■แผนกจัดซื้อและวัสดุ ■แผนกอื่นๆ
ตำแหน่ง
■ตำแหน่งทั่วไป ■หัวหน้า ■ผู้รับผิดชอบโดยตรงหรือหัวหน้า ■หัวหน้าแผนก ■หัวหน้าฝ่าย ■ผู้จัดการทั่วไปหรือกรรมการบริหารของบริษัท ■ประธานบริษัทหรือประธานผู้จัดการ (ตำแหน่งสูงสุด)
การประเมินผลผู้ประสานงาน
■มีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก ■มีความเหมาะสม ■ธรรมดา ■ไม่มีความเหมาะสม ■ไม่มีความเหมาะสมเลย
ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงาน
การสร้างแรงจูงใจภายในและพัฒนาบรรยากาศขององค์กร
- หากสร้างแรงจูงใจให้พนักงานด้วยระบบ 5 ส จะเป็นการสร้างแรงจูงใจที่มีความต่อเนื่อง
- จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน
- สิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้พนักงานมีความตั้งใจในการทำงาน
- ไม่ทราบวิธีเริ่มต้นการทำงานเป็นทีม
- เกี่ยวกับการเพิ่มแรงจูงใจ และเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
- คำสั่งของผู้บริหารหรือหัวหน้า มีส่วนในการให้ความรู้และเพิ่มแรงจูงใจของผู้ใต้บังคับบัญชา
การกระตุ้นการติดต่อสื่อสาร
- มีช่องว่างขนาดใหญ่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงาน หัวหน้า ผู้บริหาร
- พนักงานไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง
- พนักงานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเป้าหมายที่สำคัญของหัวหน้า
- เนื่องจากหัวหน้าไม่เข้าหน้างาน จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารกับพนักงานได้อย่างราบรื่น
- มีช่องว่างระหว่างรุ่นของพนักงานเก่ากับพนักงานใหม่
- ความคิดที่แตกต่างระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่น
- มีช่องว่างระหว่างรุ่นของหัวหน้างานกับพนักงานควบคุมเครื่องจักรที่อายุน้อย
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- จำนวนพนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือมีความรู้เฉพาะทางไม่เพียงพอ
- พนักงานที่เพิ่งเข้ามาใหม่และไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมีจำนวนมาก
- คนที่คิดและดำเนินการแก้ไขปัญหามีน้อย มีแต่คนที่มารายงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
- ไม่มีความกระตือรือร้นและไม่สามารถคิดเองได้
- อัตราของพนักงานชั่วคราวมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความสามารถในการค้นพบหัวข้อของปัญหา และเพิ่มทักษะในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน
- ไม่มีทักษะเพียงพอในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน
- ผู้บริหารมุ่งเน้นแต่ปริมาณของงานมากเกินไป โดยที่ไม่คำนึงถึงเรื่องงาน เงื่อนไขแรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ความสอดคล้องของมาตรฐาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงานอื่นๆ
- หัวหน้าโดยทั่วไปจะเน้นที่ปริมาณของงานเป็นส่วนใหญ่ โดยขาดความสนใจในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ ขาดความเข้าใจ และทักษะในการแก้ไขปัญหาของที่ทำงาน
- เนื่องจากไม่ค่อยมีการอบรมหรือให้ความรู้ที่เพียงพอ จึงทำให้มีพนักงานที่เข้าร่วมการปรับปรุงธุรกิจมีน้อย
- จำเป็นต้องแก้ไขสาเหตุของปัญหาที่จะเพิ่มมากขึ้น ต้องหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงและเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง จะต้องเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ ในขณะนี้แก้ไขได้เฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จึงยังไม่สามารถไปสู่ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุพื้นฐานได้
การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน
- เทคโนโลยีการผลิตยังไม่ทันสมัย
- พนักงานทำงานหนัก
- สถานที่ทำงาน และพื้นที่ก่อสร้างแคบ
- หัวหน้าไม่มีเวลาพอที่จะเข้าไปพูดคุยกับพนักงาน(การตระเวณตรวจสอบ)
- พื้นที่ของไลน์การผลิตแคบ และจำเป็นต้องทำการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
การลดต้นทุน
- ราคาสินค้าแพง เพราะผลิตด้วยต้นทุนที่สูง แม้จะเป็นสินค้าคุณภาพสูงก็ตาม แต่ก็จะต้องลดต้นทุนลงอีก
- ค่าจ้างงานของพนักงานใหม่กับพนักงานที่มีประสบการณ์นั้นแตกต่างกันมาก
- ไลน์การผลิตจำเป็นต้องรอเป็นเวลานาน จึงทำให้เสียเวลา
อื่นๆ
- เนื่องจากดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายในเวลาเดียวกัน ผลที่ออกมาจึงไม่สมบูรณ์ทั้งหมด
- ขาดความชัดเจนในการวางแผนธุรกิจของบริษัทแม่ จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้พนักงานคนไทยรับทอดต่อ
- วิธีการปรับความสมดุลของการทำงานประจำวันและการทำงานที่เป็นภารกิจพิเศษ เมื่อจำเป็นจะต้องดำเนินกิจกรรมพิเศษ
- มีความผันแปรของการวางแผนการผลิตของบริษัทเป็นอย่างมาก ควรทำการปรับเปลี่ยนแผนเป็นประจำ